เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ
ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและ
มรณะเป็นวิปัสสนาพละ
คำว่า วิปัสสนาพละ อธิบายว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะมีความหมายว่า
อย่างไร
คือ ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุ-
ปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า
วิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
เพราะจิตไม่หวั่นไหวในราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่
หวั่นไหวในสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวใน
อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว
ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอวิชชา เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและ
เพราะขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ (18)
เสกขพละ 10 อเสกขพละ 10 เป็นอย่างไร
คือ ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า
อเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ
เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ
ศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษา
สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ
สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯลฯ สัมมาญาณ1 ฯลฯ สัมมาวิมุตติ2 ชื่อว่าอเสกขพละ
เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตตินั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ 10
อเสกขพละ 10 นี้แล (19-20) (=38)

เชิงอรรถ :
1 สัมมาญาณ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ (ขุ.ป.อ. 2/44/ 267)
2 สัมมาวิมุตติ หมายถึงธรรมที่ประกอบด้วยผลเว้นมรรคมีองค์ 8 (ขุ.ป.อ. 2/44/267)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :519 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [2. ยุคนัทธวรรค] 9. พลกถา
ขีณาสวพละ 10 เป็นอย่างไร
คือ สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่สังขารทั้งปวงเป็นธรรม
ที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาชอบตาม
ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยัน
ความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (1)
กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วย
ปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่า
เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ
ภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะ
ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (2)
จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก
ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง
แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ใน
วิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ
ทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความ
สิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (3)
สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่สติปัฏฐาน
4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่ง
ภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเรา
สิ้นแล้ว” (4)
สัมมัปปธาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ อิทธิบาท 4
ฯลฯ อินทรีย์ 5 ฯลฯ พละ 5 ฯลฯ โพชฌงค์ 7 ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ 8
เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นธรรม
ที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้
อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ 10 (5-10) (=48)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :520 }